สมรสเท่าเทียม กับการทำประกันชีวิต ยกผลประโยชน์ให้กันได้แล้ว
สืบเนื่องจาก มติสภา 369 ต่อ 10 รับหลักการร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม กฎหมายสมานฉันท์รัฐบาล-ฝ่ายค้าน ความหวังไทยก้าวสู่ประเทศแห่งความเท่าเทียมทางเพศ
กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพชีวิตคู่ LGBTQIA+ ในร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1448 หรือ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งในวันที่ 21 ธันวาคมนี้
การผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียมนั้นเกิดจากการเสนอร่างกฎหมายต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรโดย ‘ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์’ สส. พรรคก้าวไกล ในเดือนมิถุนายน 2563
มีหลักการที่จะแก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 1448 และมาตราที่เกี่ยวข้องใน ป.พ.พ. ที่เงื่อนไขเดิมอนุญาตการหมั้นและการสมรสเฉพาะชายและหญิง เปลี่ยนเป็นอนุญาตให้ ‘บุคคลทั้งสอง’ ทำให้คู่รักหลากเพศสามารถหมั้นและจดทะเบียนสมรส เป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้รับสิทธิ หน้าที่ ศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับคู่สมรสชายหญิงทั่วไป
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 21 ธันวาคม 2566 จะมีร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 3 ร่าง
- ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับกระทรวงยุติธรรม เสนอโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.)
- ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับพรรคก้าวไกล
- ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับภาคประชาชน
เทียบรายละเอียด 3 ร่างกฎหมาย
ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เวอร์ชัน พ.ศ. 2566 ทั้ง 3 ร่าง มีหลักการเหมือนกันคือขยายสิทธิการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1448 และมาตราที่เกี่ยวข้อง จากเดิมจำกัดเฉพาะชายกับหญิง ให้ขยายสิทธิครอบคลุมบุคคลทุกเพศ ทุกอัตลักษณ์ทางเพศ และทุกเพศวิถี
โดยมิได้ลดทอนสิทธิหน้าที่ใดๆ ของคู่สมรส บิดามารดา ชายหญิงทั่วไป ทั้งที่มีอยู่เดิมและในอนาคต การแก้ไข ป.พ.พ. มิได้บังคับการจดทะเบียนสมรสกับประชาชนหรือศาสนิกชนใดๆ และมิได้เข้าไปแก้ไขหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกของพี่น้องชาวมุสลิม สามารถเทียบได้ดังนี้
การหมั้น
- ฉบับรัฐบาล ระบุว่า บุคคล 2 ฝ่าย เป็นผู้หมั้น และผู้รับหมั้น
- ฉบับก้าวไกล ระบุว่า บุคคล 2 ฝ่าย เป็นผู้หมั้น และผู้รับหมั้น
- ฉบับภาคประชาชน ไม่มีการแก้ไข เนื่องจากเห็นว่าสามารถสมรสได้โดยไม่ต้องหมั้น
อายุการสมรส
- ฉบับรัฐบาล ระบุที่ 17 ปีบริบูรณ์
- ฉบับก้าวไกล ระบุที่ 18 ปีบริบูรณ์
- ฉบับภาคประชาชน ระบุที่ 18 ปีบริบูรณ์
การระบุเพศ
- ฉบับรัฐบาล ระบุว่า ระหว่างบุคคลทั้ง 2 ฝ่าย บุคคล 2 คน
- ฉบับก้าวไกล ระบุว่า ระหว่างบุคคลทั้ง 2 ฝ่าย บุคคล 2 คน
- ฉบับภาคประชาชน ระบุว่า ระหว่างบุคคล 2 บุคคล
สถานะหลังจดทะเบียนสมรส
- ฉบับรัฐบาล ระบุว่า คู่สมรส
- ฉบับก้าวไกล ระบุว่า คู่สมรส
- ฉบับภาคประชาชน ระบุว่า คู่สมรส
บทเฉพาะกาล และการแก้ไขกฎหมายอื่นๆ
- ฉบับรัฐบาล ไม่มีบทเฉพาะกาล และการแก้ไขกฎหมายอื่นๆ
- ฉบับก้าวไกล ไม่มีบทเฉพาะกาล และการแก้ไขกฎหมายอื่นๆ
- ฉบับภาคประชาชน มีบทเฉพาะกาล และการแก้ไขกฎหมายอื่นๆ
ระยะเวลาบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา
- ฉบับรัฐบาล ระบุ 120 วัน
- ฉบับก้าวไกล ระบุ 120 วัน
- ฉบับภาคประชาชน ระบุ 60 วัน
สมรสเท่าเทียม กับการทำประกันชีวิต ยกผลประโยชน์ให้กันได้แล้ว
อ้างอิง
1.https://thestandard.co/marriage-equality-common-law-from-government-and-opposition/
2.https://www.youtube.com/watch?v=hOAPoASuyrk
ผู้รับผลประโยชน์ในประกันชีวิตของ LGBTQ+
กลุ่ม LGBTQ (L- Lesbian/ G-Gay/ B-Bisexual/ T-Transgender/ Q-Queer)
เตรียมเอกสารแสดงความสัมพันธ์ LGBTQ+ ดังนี้
น๊อต เดอะสตาร์
กองบรรณาธิการ insureTechX รายงาน
ความเห็นล่าสุด